ตอบ : สิวหินไม่ใช่สิว แต่ที่ถูกเรียวว่าสิวนั้นเพราะลักษณะเริ่มแรกจะขึ้นเป็นตุ่มสีเนื้อขนาดเล็ก บนใบหน้าจึงมักเข้าใจผิดว่าเป็นสิว
ตอบ : สิวหินคือเนื้องอกของท่อต่อมเหงื่อที่ผิวหนัง จะมีลักษณะเป็นก้อนสีเนื้อ ขนาดจะค่อยๆโตขึ้นช้าๆ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ บริเวณใบหน้า รอบดวงตา
ตอบ : สาเหตุของสิวหินนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดแต่มีหลักฐานพอให้เชื่อได้ว่าเกียวข้องกับพันธุกรรม คือคนที่มีเครือญาติเป็นมีโอกาสเป็นได้มากขึ้น เนื้องอกของท่อต่อมเหงื่อนี้ไม่มีอันตราย ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในอนาคต
ตอบ : เนื่องจากสิวหินเป็นเนื้องอกที่ไม่อันตราย ปัญหาเพียงข้อเดียวของสิวหินคือเรื่องของความสวยงาม จะรักษาหรือไม่ขึ้นกับความกังวลของแต่ละคน หากสิวหินเกิดขึ้นในบริเวณที่เห็นได้ชัดและผู้ป่วยกังวล ก็ควรทำการรักษา การรักษาสิวหิน ทำได้หลายวิธี 4.1 การผ่าตัด/จี้ไฟฟ้า เป็นการรักษาเหมือนเนื้องอกทั่วไปคือผ่าตัดเนื้องอกออกแล้วเย็บปิด หรือจี้ทำลายด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะมักเกิดแผลเป็นค่อนข้างมาก 4.2 การจี้ไอเย็น(Cryotherapy) คือการใช้ความเย็น(Liquid nitrogen) จี้ทำลายเนื้องอก ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะเกิดแผลค่อนข้างใหญ่และมีโอกาสเกิดแผลเป็นค่อนข้างมาก 4.3 การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (CO2 laser) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เพราะแผลที่เกิดขึ้นค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับวิธีข้างต้น และโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่เนื่องจากเลเซอร์ชนิดนี้ผลของการรักษาต้องอาศัยทักษะและความเชี่ยวชาญของแพทย์อย่างมาก ผู้รับบริการควรเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ เลเซอร์ผ่าตัดเพื่อให้ได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพึงพอใจและเกิดผลข้างเคียงและแผลเป็นน้อยที่สุด
ตอบ : หากเริ่มรักษาตั้งแต่ที่สิวหินมีขนาดเล็ก และรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญ จุดที่ทำการรักษาอาจหายขาดตั้งแต่ครั้งแรก แต่หากรักษาตอนที่สิวหินมีขนาดใหญ่มากขึ้น อาจต้องทำการรักษามากกว่าหนึ่งครั้ง เนื่องจากสิวหินเกียวเนื่องกับพันธุกรรม เมื่ออายุมากขึ้นจุดอื่นๆจะขึ้นเพิ่มมาได้อีก เพราะฉะนั้นหากมีจุดไหนที่คิดว่าถ้าขนาดใหญ่ขึ้นแล้วเห็นชัดจะเป็นปัญหาด้านความงามในอนาคต แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาตั้งแต่สิวหินมีขนาดเล็ก เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด