ตอบ : 1.1 พันธุกรรม (Genetic) พบว่ามีความสัมพันธ์ของฝ้ากับพันธุกรรมซึ่งบุคคลที่เป็นฝ้าจะมีพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเป็นฝ้าแฝงอยู่เสมอ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถหายีนที่ควบคุมการเกิดฝ้าได้
1.2 แสงแดด (Ultraviolet) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อฝ้าที่สำคัญที่สุด เพราะแสงแดดจะกระตุ้นเซลล์เม็ดสี (Melanocyte) โดยตรงให้สร้างเม็ดสีและกระจายเม็ดสีออกสู่ผิวหนังทำให้รอยดำของฝ้าเข้มขึ้นเรื่อยๆ
1.3 ฮอร์โมน (Hormone) พบว่าการเกิดฝ้ามีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือ จะเห็นได้ชัดว่าผู้หญิงที่เป็นฝ้าและ รับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้ฝ้าเข้มขึ้นและดื้อต่อการรักษา
ตอบ : ฝ้า 90% พบในเพศหญิงซึ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงและคนที่เป็นฝ้านั้นมียีนที่เอื้อต่อการเกิดฝ้าอยู่ในพันธุกรรมของตนอยู่แล้ว จึงไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันมีวิธีการดูแลรักษาที่ก้าวหน้าไปมากทำให้ถึงแม้ไม่หายขาดแต่ก็สามารถ ทำให้จางลงและควบคุมไม่ให้ฝ้าเข้มขึ้น จนดูใกล้เคียงกับผิวปกติได้เลยทีเดียว
ตอบ : ปัญหามักเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนและวิธีใช้กันแดดที่ยังไม่ถูกต้อง การรักษาฝ้าที่ถูกต้อง ต้องเริ่มจากการป้องกันที่ถูกต้อง ปัจจัยหลักของการเกิดฝ้าที่เราป้องกันได้คือ "แสงแดด" การป้องกันแสงแดดที่ถูกต้องต้องเริ่มจาก
3.1 การเลือกครีมกันแดดที่ถูกต้อง ควรเลือกใช้ครีมที่ SPF30+ PA++ ขึ้นไปเพื่อป้องกันได้ทั้งรังสียูวีบี & ยูวีเอ แต่สำหรับคนที่เป็นฝ้าแล้วถ้าให้ดีเลือกที่ SPF50+ PA+++ เพื่อให้ปกป้องผิวจากแดดได้เพียงพอ ปัจจุบันมีครีมกันแดดหลากหลายชนิด อาจทำให้การเลือกกันแดดให้เหมาะกับผิวตนเองเป็นเรื่องยากขึ้น หากพบปัญหาในการเลือกกันแดดควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อเลือกกันแดดที่เหมาะกับผิวหน้า
3.2 การใช้ในปริมาณกันแดดที่ถูกต้อง คนส่วนมากเข้าใจผิดว่าแค่เลือกใช้กันแดด SPF/PA สูงๆเท่านั้นก็เพียงพอ ทาปริมาณแค่ไหนก็ได้ก็ได้ SPF/PA เท่ากับที่ระบุไว้ ซึ่งความจริง หากอยากได้ SPF/PA ตามที่ระบุของกันแดด ต้องทากันแดดปริมาณ 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือเท่ากับปริมาณ 1 ข้อนิ้วมือพูนๆ ซึ่งปกติน้อยคนที่จะทาได้ตามปริมาณนั้น แล้วถ้าใช้ไม่ถึงล่ะจะเป็นอย่างไรจะได้ SPF แค่ไหน ลองดูงานวิจัยในภาพที่ 2 ใช้กันแดด SPF 35 มา ทดลอง พบว่าหากลดปริมาณกันแดดลงครึ่งหนึ่ง เป็นหนึ่งข้อนิ้วมือ(1mg/cm2) SPF ลดลงเหลือ 5!!! นั่นหมายถึงถ้าทาน้อยกว่านั้นก็แทบจะไม่ได้ประโยชน์จากกันแดดเลย (งานวิจัย: The relation between the amount of sunscreen applied and the sun protection factor in Asian skin.) นั่นจึงเป็นเหตุให้เราควรใช้ SPF สูงๆเพราะแม้จะใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดก็ยังพอเหลือ SPF ปกป้องผิวได้บ้าง
3.3 ส่วนมากเราจะทากันแดดกันครั้งเดียวตอนเช้าแล้วเชื่อว่าปกป้องผิวเราได้ทั้งวันซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะกันแดดไม่ว่าจะยี่ห้อไหนรุ่นไหนในสภาพความเป็นจริงก็ปกป้องผิวได้ไม่เกิน 2-6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นในคนทั่วไปอาจต้องทาซ้ำทุก 4 ชม. แต่ในคนที่เป็นฝ้าควรทาซ้ำทุก 2 ชม.หากต้องอยู่กลางแจ้ง
ตอบ : การรักษาฝ้าปัจจุบันมีหลายวิธี
4.1 การใช้ยาทา มีอยู่หลายสูตร ซึ่งส่วนผสมหลักคือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เพราะหากมีสัดส่วนที่มากเกินไปจะเกิดอันตรายถึงขั้นเซลล์เม็ดสีตายและเกิดเป็นด่างขาวขึ้น ซึ่งพบปัญหานี้ได้บ่อยจากการทำครีมฝ้าหน้าใสขายตามท้องตลาดโดยผู้ผลิตไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ จนส่งผลเสียถึงผู้บริโภคในที่สุด แต่ถ้าใช้ในสัดส่วนที่ถูกต้องจะให้ผลการรักษาทีดี
4.2 การใช้ยารับประทาน กลุ่ม Tranexamic acid เป็นยาที่มีรายงานทางการแพทย์ว่าสามารถทำให้ฝ้าจางลงได้ แต่เนื่องจากยาตัวนี้มีผลรักษาเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด & ผลข้างเคียงอื่นๆ ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยารับประทานควรได้รับการตรวจและประเมินก่อนให้ยาโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังก่อนเสมอ
4.3 การใช้เลเซอร์และทรีทเมนต์รักษาฝ้า
4.3.1 Chemical peeling การผลัดผิวด้วยกรด TCA หรือกรดผลไม้ เพื่อทำให้ผิวหนังบริเวณที่มีฝ้าหลุดลอกออก ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนักเพราะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงและรอยดำได้
4.3.2 Electroporation คือการใช้เครื่องมือที่ใช้ ion wave นำตัวยาเข้าสู่ชั้นผิวได้ลึกกว่าการทายา เพื่อลดการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสี มักใช้เสริมการรักษาหลังจากที่ทำเลเซอร์
4.3.3 เลเซอร์ที่ทำลายเม็ดสีส่วนเกิน เลเซอร์กลุ่มนี้จะผ่านผิวหนังลงไปทำให้เม็ดสีส่วนเกินแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและถูกทำลายต่อไป โดยไม่ทำให้ผิวบาง/ไวแดด(ถ้าเป็นเลเซอร์ที่มาตรฐาน & ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจริงๆ) ได้แก่ Q-switched Nd YAG , Copper Bromide laser , PicoSure etc. การจะเลือกใช้เลเซอร์ชนิดใดควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและเลือกชนิดเลเซอร์ที่เหมาะกับปัญหามากที่สุด เพื่อผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ
ตอบ : ฝ้าโดยปกติจะเริ่มพบเมื่อช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ควรเริ่มรักษาตั้งแต่เริ่มพบปัญหา เพราะยิ่งเริ่มรักษาเร็วเมื่อยังเป็นน้อย การรักษาจะได้ผลดีกว่าปล่อยให้เป็นเยอะๆแล้วค่อยมารักษา แต่ปัญหาจุดด่างดำบนใบหน้าของผู้หญิง ไม่ได้มีฝ้าอย่างเดียว มีทั้ง กระลึก (Nevus of Ota/Hori) , กระแดด (Freckle) , กระแดดชนิดลึก (Solar lentigo) , กระเนื้อ (Seborrheic keratosis) etc. ซึ่งหากพบจุดด่างดำที่เริ่มเห็นชัดบนใบหน้า ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังก่อนเสมอ เพราะการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีและน่าพึงพอใจในที่สุด