ปกติเมื่อร่างกายเกิดบาดแผล ก็จะเริ่มมีกระบวนการรักษาแผลเกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการนั้นจะประกอบไปด้วยสมดุลของสร้างเนื้อใหม่และสลายเนื้อส่วนที่สร้างเกินขึ้นมา แต่หากกระบวนการนี้เสียสมดุลไปทำให้เกิดการสร้างมากกว่าการทำลายสุดท้ายจึงเกิดเป็นแผลเป็นนูนขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดแผลเป็นมีหลายประการ 2.1 ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าในพันธุกรรมของมนุษย์มียีนที่สัมพันธ์กับการเกิดแผลเป็นเช่น HLA-B14, HLA-B21, etc. หรือแม้กระทั่ง หมู่เลือดกรุ๊ป A ซึ่งทำให้คนที่มียีนเหล่านี้หรือหมู่เลือดกรุ๊ป A มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้มากกว่า 2.2 บริเวณที่เกิดแผล แผลเป็นนูนมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีแรงตึงสูงและเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เช่น หัวไหล่ หน้าอก คางหรือบริเวณกรอบหน้า การมีแผลบริเวณดังกล่าวทำให้มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนมากขึ้น 2.3 การดูแลหลังเกิดแผล หากมีการดูแลแผลไม่ถูกต้อง มีการอักเสบติดเชื้อตามมาย่อมเพิ่มโอกาสเกิดแผลเป็นสูงขึ้น
ตอบ : การรักษาปัจจุบันมีหลายวิธีเช่น 3.1 การฉีดยาสลายแผลเป็นพวก corticosteroid,หรือยากลุ่มเคมีบำบัดต่างๆ 3.2 การรักษาด้วยไอเย็น (Cryosurgery) 3.3 การรักษาด้วยการผ่าตัด (Surgical Excision) การผ่าตัดโดยปกติจะใช้กับผู้ป่วยที่มีแผลเป็นนูนจากการเจาะหูไม่นิยมใช้กับแผลเป็นบริเวณอื่นเพราะจะเกิดแผลเป็นที่ใหญ่กว่าเดิมได้ และการผ่าตัดควรทำโดยแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 3.4 การรักษาด้วยเลเซอร์ เช่น Erbium YAG, Pulsed-dye laser มีรายงานว่าได้ผลดีแต่ก็ควรทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเช่นกัน 3.5 ยังมีการคิดค้นวิธีการรักษาใหม่ๆอีกมากที่ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยซึ่งต้องรอติดตามผล
ตอบ : ไม่มีวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เพราะในผู้ป่วยแต่ละคนก็ตอบสนองต่อการรักษาแต่ละวิธีแตกต่างกันไป ในบางรายอาจต้องใช้วิธีการรักษาหลายวิธีร่วมกันจึงจะได้ผล โดยจะรักษาวิธีใดนั้นผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประเมินโดยแพทย์ก่อนเสมอ โดยมากมักไม่หายขาดแต่หลังการรักษาในบางรายที่ดูแลรักษาต่อเนื่องสามารถหายจนใกล้เคียงปกติได้เลย แต่ก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกหากเกิดแผลซ้ำหรือบาดเจ็บบริเวณเดิม
ตอบ : การป้องกันที่ดีที่สุด คือไม่ทำให้เกิดแผลขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นดังที่กล่าวไปข้างต้น แนะนำว่าหากเกิดแผลขนาดใหญ่แผลอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นหรือเริ่มเกิดเป็นแผลเป็นขนาดเล็กขึ้นแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังโดยเร็วที่สุด เพราะการดูแลรักษาแผลที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันแผลเป็น และแผลเป็นขนาดเล็กย่อมให้ผลการรักษาที่ดีกว่าแผลเป็นขนาดใหญ่